ชีวิตคู่ อยู่อย่างไรให้ราบรื่น

ละคร ที่แฮปปี้เอ็นดิ้ง…พระเอ กกับนางเอ กจะจูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์ ถือเป็นการจบเรื่องอย่างสวยงาม แต่ในชีวิตจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น

การจูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์เป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิต และเป็นชีวิตคู่ที่มีอีกคนหนึ่งเข้ามามีส่วนร่วมด้วยแทบทุกเรื่อง

ดังนั้นการที่จะประคองชีวิตคู่ให้ไปตลอดรอดฝั่ง…จึงเป็นสิ่งที่ยากในสังคมปัจจุบัน ยิ่งทั้งสามีและภรรยาต่างต้องทำงานนอ กบ้านด้วยกันทั้งคู่

และสามารถหารายได้ด้วยตัวเอง ยิ่งทำให้ขีดความอดทนลดลง ขณะที่ความเก่งรอบด้านของผญ.ในยุคปัจจุบัน มีมากขึ้น ทำให้ฝ่ายชายเกิดความรู้สึกด้อยค่า ก็อาจทำให้เป็นสาเหตุของการหย่าร้างแยกทางกันได้

น.พ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย ให้สาเหตุของการหย่าร้างแยกทางกัน มากขึ้นของครอบครัวในสังคมไทยว่า สภาพสังคมไทยปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน

โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของสามีภรรยาที่ต่างไปจากเดิม ในอดีตผญ.ไม่ได้เรียนหนังสือ สิ่งที่ต้องเรียนรู้คืองานบ้านงานเรือนเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน

ขณะที่ฝ่ายชายเป็นพ่อบ้าน เป็นผู้ทำงานเลี้ยงดูครอบครัว การแต่งงานจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับชีวิตลูกผญ.ในอดีต

แต่ในปัจจุบัน สภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ผญ.ทำงานเลี้ยงตัวเองได้ บางคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีรายได้สูงกว่าฝ่ายชาย

ระดับการพึ่งพิงฝ่ายชายก็น้อยลง โอ กาสที่ครอบครัวจะเกิดปัญหาความขัดแย้งก็เป็นไปได้สูง ถ้าหากฝ่ายหญิงไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงของการเกิดปัญหา และฝ่ายชายไม่สามารถปรับตัว ปรับใจ ยอมรับบทบาทที่เด่นน้อยลงของตนเองได้

สิ่งที่มักเกิดขึ้นในครอบครัวก็คือ สามีจะรู้สึกเสียหน้าด้อยค่าลง อาจจะนำไปสู่ปัญหาการมีภรรยาน้อยเพื่อที่จะชดเชยความรู้สึกด้อยค่าของตนเอง

หรือในบางรายที่ฝ่ายหญิงให้เวลากับงาน มากกว่าครอบครัว ฝ่ายชายที่มีความรู้สึกไม่มั่นคง ก็อาจจะຣະเเวงว่าฝ่ายหญิงอาจกำลังไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่นที่มีความสามารถ สูงกว่าตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการทະ เ ล า ະเบาะแว้งและการหย่าร้างในที่สุด

จิตแพทย์ ย้ำว่า การประคองชีวิตครอบครัวให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งนั้น หัวใจสำคัญของการครองคู่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ

และความตั้งใจในการที่จะป้องกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งมีคำแนะนำหลัก 4 ข้อ เพื่อนำไปปรับใช้ในการครองคู่

1. สามีและ ภรรยาต้องมีเป้าห ມ ายตรงกัน คือมีความต้องการประคองชีวิตคู่ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างสงบราบรื่น ถ้าหากไม่มีเป้าห ມ ายตรงกันแล้ว ย่อมไม่มีพลังหรือ กำลังใจที่จะทุ่มเทให้กับการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ

2. ความรู้สึกไม่มั่นคงภายในของฝ่ายชาย ความรู้สึกสูญเสียบทบาทความเป็นผู้นำ ในการบรรเทาผลกระทบของจุดอ่อนนี้สามารถทำได้โดยการพูดคุยทำความเข้าใจกันของ

ทั้งสองฝ่ายว่าเรามีเป้าห ມ ายร่วมกัน สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์สูงสุดกับครอบครัว สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทั้งนี้ในการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายจำเป็นต้องมีการพูดคุยตกลงกัน

ควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบว่าบทบาทหน้าที่ของใครสำคัญกว่ากัน เพราะเป้าห ມ ายใหญ่คือ การทำให้ชีวิตครอบครัว ราบรื่นและสงบสุข

3. สำหรับฝ่ายหญิงเมื่อรู้ว่าฝ่ายชายมีจุดอ่อนไหวเรื่องความมั่นคงภายใน ก็ควรระมัดระวังความรู้สึกของฝ่ายชายที่เกรงว่าตนเองจะด้อยค่า

โดยภรรยาสามารถแสดงออ กให้ สามีรับรู้ว่าตนเองยังมีคุณค่าต่อภรรยาได้หลายวิธี ตั้งแต่ การให้เวลาแก่กัน ให้โอ กาสฝ่ายชายแสดงบทบาทช่วยเหลือฝ่ายหญิงบ้าง

และถึงแม้ภรรยาจะเป็นหลักในการหารายได้เข้าบ้านก็ตาม ยิ่งต้องระมัดระวังความคิด ไม่ห ล งตัวเองหรือพลั้งเผลอคำพูด ท่าที

เช่น การทวงบุญคุณเรื่องการหาเงินเข้าบ้าน จะทำให้เกิดปัญหารุนแรงได้ และถ้าเกิดความผิดพลาดดังกล่าวขึ้น มาจริงก็สมควรต้องขอໂ ท ษ อย่าถือทิฐิ ทั้งนี้ควรจะต้องเตือนตนเองบ่อย ๆ ในเรื่องการให้เกียรติสามี และการดูแลความรู้สึก

4. การแสดงความเห็น การวิพากษ์วิ จาຣณ์จากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือคนรอบข้างที่เห็นต่างออ กไป สามีภรรยาจำเป็นจะเตือนตนให้มีความมั่นคงและเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองกระทำ

ไม่เอาคำวิพากษ์วิ จาຣณ์เหล่านั้น มาใส่ใจ และเก็บมาเป็นอารมณ์ทำให้เกิดความแตกแยกในครอบครัว ให้พยายามมองว่าผู้ที่วิพากษ์วิ จาຣณ์ยังไม่เข้าใจ และที่สำคัญครอบครัวของเราจะสุขจะทุกข์ เขาไม่ได้มาเกี่ยวข้องด้วย

แม้แต่ละครอบครัวจะมีรายละเอียดและพื้นฐานที่แตกต่างกัน แต่นี่คือหลักกว้าง ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้อยู่ร่วมกันแบบ…ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.