ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เรียกร้องขอค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมไทยเราทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทำงาน มักนิยมมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ “อยู่ก่อนแต่ง” เพื่อเป็นการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานให้ถูกต้องตามกฎห มาย

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากปัญหาในเรื่องของการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาในทางกฎห มายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกรณีที่คู่รักครองความสัมพันธ์กัน “ฉันสามีภรรยา” โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎห มาย ด้วยเหตุนี้จึงอยากให้ถามกับตัวเองเสียก่อนว่า

“คุณกับคู่รักอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่?”

“มีบุตรด้วยกันหรือไม่?” “บุตรใช้นามสกุลของใคร?”

“รายละเอียดในใบสูติบัตร (ใบเกิด) ของบุตร ปรากฏชื่อของบิดาหรือไม่?”

คำถามเหล่านี้ ยังไม่รวมถึงกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาในการเลี้ยงดูบุตรที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

เนื่องจากในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎห มายจะทำให้บุตรที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว

ดังนั้น ผู้เป็นบิดาอาจไม่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ เมื่อคุณแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single mom) ในกรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

ลูกที่เกิดมาจะถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายของผู้เป็นแม่เพียงผู้เดียว และจะเป็นลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎห มายของพ่อ

ดังนั้นผู้เป็นพ่อก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรตามกฎห มาย แต่ต่อมาถ้าแม่ต้องการให้พ่อจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ก็จะต้องดำเนินการให้พ่อดำเนินการรับรองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายของพ่อเสียก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้

กรณีลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎห มายดังกล่าว ในทางกฎห มายเราเรียกว่า “บุตรนอกสมรส” ซึ่งกฎห มายก็ได้กำหนดวิธีการที่จะเป็นทำให้บุตรนอกสมรสกลายเป็น “บุตรชอบด้วยกฎห มาย” ได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

1. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร

2. บิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎห มายภายหลัง

3. ศ าลพิ พากษาว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎห มายของบิดา

อย่างไรก็ดี กรณีตามข้อแรก บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องให้บิดาไปจดทะเบียนรับรองบุตรกับนายทะเบียนที่สำนักงานเขต

หรือที่ว่าการอำเภอในแต่ละจังหวัด โดยมารดาต้องให้ความยินยอม รวมทั้งเด็กต้องให้ความยินยอม แต่ถ้ากรณีที่เด็กยังเล็กมากและยังไม่สามารถพูดให้ความยินยอมได้อาจขอให้ศ าลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของเด็ก

กรณีที่สองบิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎห มายภายหลัง เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายของบิดาโดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด

กรณีสุดท้ายหลังจากที่ศ าลพิ พากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎห มาย ก็จะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิดเช่นกัน

อีกกรณีหนึ่งที่มารดาสามารถนำมาใช้อ้างได้ ถ้าพบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎห มายของบิดา

  • เมื่อมีเอกสา รของบิดาแสดงว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรของตน
  • เมื่อปรากฏในทะเบียนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
  • เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  • เมื่อมีเหตุใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กนั้น มิได้เป็นบุตรของชายอื่น
  • เมื่อมีการแสดงออกที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร เช่น บิดาดูแลเรื่องการศึกษา ยินยอมให้เด็กใช้นามสกุลของตน

ดังนั้น เมื่อสามีไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฝ่ายภรรยาสามารถดำเนินการฟ้ องศ าลขอให้สามีรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎห มาย รวมถึงสามารถเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้อีกด้วย

เมื่อบิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว กฎห มายกำหนดหลักไว้ว่าบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะคืออายุ 20 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ มารดาสามารถยื่นฟ้ องบิดาต่อศ าลเยาว ชนและครอบครัว โดยการฟ้ องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศ าลและค่าธรรมเนียม

และเพื่อความสะดวกรวดเร็วการฟ้ องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็ยังสามารถฟ้ องรวมกับการฟ้ องให้บิดารับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎห มายอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.